วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

สรุปท้ายบทเรียน บทที่ 2กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ วันพฤหัสที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทเรียน
            จากที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องกรอบแนวคิดการจัดการความรู้  นั้นมีหลากหลายรูปแบบแล้วแต่ว่าเราจะเลือกกรอบแนวคิดของใคร มาเป็นกรอบแนวคิดที่เราเห็นแล้วว่าเหมาะสมกับองค์กร สังคมหรือประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในระบบเศรษฐกิจฐานความรู้จำเป็นต้องเรียนรู้ศึกษาและประยุกต์เพื่อนำไปใช้ต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างเช่น

โมเดลปลาทู (Tuna Model)


เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนกับปลาทูหนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนสัมพันธ์กัน
ส่วน หัวปลา” (Knowledge Vision- KV)  หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำจัดการความรู้ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย หัวปลานี้จะต้องเป็นของ คุณกิจหรือ ผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมด โดยมี คุณเอื้อและ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
ส่วน ตัวปลา” (Knowledge Sharing-KS)  หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ ซึ่ง คุณอำนวยจะมีบทบาทมากในการช่วยกระตุ้นให้ คุณกิจมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ในตัว คุณกิจพร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศในการเรียนรู้แบบเป็นทีมให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิดนวัตกรรม
ส่วน หางปลา” (Knowledge Assets-KA)  หมายถึง ส่วนของ คลังความรู้หรือ ขุมความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดความรู้ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัวปลาซึ่งเราอาจเก็บส่วนของ หางปลานี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัดนำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
ที่มา: http://www.thaiall.com/km/indexo.html

สรุปเกี่ยวกับที่เพื่อนได้ไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
       จากที่ได้รับฟังความรู้จากที่เพื่อนๆได้ออกไปนำเสนอนั้นมีหลากหลายเรื่องราวไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลการประเมิน การจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล การพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดทฤษฎี มิติใหม่การศึกษาไทย หลักการเรียนรู้ 12 ประการที่ครูคสรรู้ ข่าวสภา การพลิกบทบาทสภาการศึกษา เป็นต้น จากเรื่องราวที่ได้ฟังมานั้นทำให้ได้กรอบความรู้ใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้นและยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทักษะการนำเสนอและการถ่ายทอดความรู้ เพื่อให้เพื่อนๆ เข้าใจได้ง่ายขึ้นและได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมกันของแต่ละกลุ่ม

Infographic ผลการประเมินการจัดการศึกษา ตามนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาล


วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปองค์ความรู้ การจัดการเรียนรู้

   จากที่ได้เรียนในคาบที่ผ่านมา ทำให้ได้ทราบว่า "ความรู้" ไม่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้และจับต้องไม่ได้ ความรู้จะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อเรานำความรู้ที่ได้นั้นมาประยุกต์ใช้หรือใช้ประโยชน์ในช่วงเวลาและโอกาสที่เหมาะสม 
    ความรู้ในตัวของเรานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ 
          1. ความรู้ที่เราสามารถถ่ายทอดออกมาให้ผู้อื่นมองเห็นได้ เช่น เอกสาร คู่มือ สื่อต่างๆ
          2. ความรู้ที่เราฝังอยู่ในตัวเรา เช่น ประสบการณ์ พรสวรรค์ การปฏิบัติ
     ซึ่งความรู้เหล่านี้หากเราไม่นำมาทบทวน เผยแพร่ หรือนำมาปฏิบัติ ความรู้เหล่านี้ก็จะสูญหายไป เราอาจจะนำความรู้ ประสบการณ์ที่เรามีมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อน เพื่อให้เราได้รับความรู้ ประสบการณ์ใหม่ๆเพิ่มขึ้นแล้วเรายังได้ทบทวนและเผยแพร่ความรู้ที่เรามีไปด้วย